Avon Reifen Lifestyle ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีข้อควรระวังอะไรบ้าง 

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีข้อควรระวังอะไรบ้าง 

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีข้อควรระวังอะไรบ้าง  post thumbnail image

ผู้ป่วยติดเตียงถือเป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิต เช่น การติดเชื้อ การขาดสารอาหาร ฯลฯ ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง แต่จะมีขั้นตอนการดูแลอย่างไรหรือมีข้อควรระวังอะไรบ้างเราจะพาไปดู  

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร 

แนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง มีดังนี้ 

1. จัดให้ผู้ป่วยนอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย 

  • เพื่อให้ง่ายต่อการรักษา 
  • เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ 
  • เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยพักฟื้นและหายได้เร็วยิ่งขึ้น 

2. ดูแลทำความสะอาดร่างกายและช่องปากอย่างสม่ำเสมอ 

  • สุขภาพร่างกาย เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย กรณีผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกาย จำเป็นต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ และทำความสะอาดสายด้วยสบู่อ่อน ๆ ทุกครั้ง หากพบว่าสีปัสสาวะมีลักษณะขุ่นข้นหรือผู้ป่วยไม่สามารถปัสสาวะได้ปกติ ควรรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล  
  • สุขภาพช่องปาก เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียและลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก วิธีการ คือ แนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ บ้วนปากและลิ้นทุกครั้งหลังมื้ออาหาร  

3. ทุกครั้งที่มีการรับประทานอาหารผู้ป่วยควรอยู่ในท่านั่งเสมอ  

องศาการนั่งของผู้ป่วยควรให้อยู่ในระดับ 45 องศา และให้ผู้ป่วยนั่งชิดกับพนักพิง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้อย่างสะดวกและไม่ก่อให้เกิดการสำลักหรืออันตรายใด ๆ   

4. หมั่นพลิกตัวและเปลี่ยนท่า  

เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจ โดยผู้ป่วยควรได้รับการพลิกตัวหรือเปลี่ยนท่าทุก 2 – 3 ชั่วโมง (ต้องทำอย่างระมัดระวังและใช้เทคนิคที่ถูกต้องเท่านั้น)  

5. ตรวจเช็กสุขภาพจิตของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ 

สุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยติดเตียงกับการต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงความเครียดและความวิตกกังวล ผู้ดูแลจึงมีหน้าที่ในการตรวจเช็กสุขภาพจิตของผู้ป่วยเป็นประจำเพื่อหาแนวทางในการดูแลบำบัดอย่างเหมาะสม  

ข้อควรระวัง 

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอยู่ด้วยกันหลายประการ ได้แก่  

  • อาหารการกิน ควรเลือกอาหารที่มีลักษณะกินง่าย ไม่หนืดเกินไป เพื่อเลี่ยงการสำลักหรือมีปัญหาในการเคี้ยว 
  • ภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ปอดแฟบ กล้ามเนื้อแขนขาลีบ ข้อติด ภาวะสับสน 
  • หากอาบน้ำไม่ได้ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน กรณีแปรงฟันไม่ได้ควรใช้ผ้านิ่มชุบน้ำยาบ้วนปากเช็ดฟันแทน  
  • ปัญหาสุขภาพจิต เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือความเครียด 

และสุดท้ายสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง นั่นก็คือ กำลังใจในการต่อสู้กับปัญหาทางด้านร่างกาย เพราะอาการต่าง ๆ จะดีขึ้นได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเพียงคนเดียวแต่ยังรวมถึงคนรอบข้างหรือคนดูแลด้วย 

Related Post

ประสาทหูเสื่อม

ทำความรู้จักกับโรคประสาทหูเสื่อม อีกหนึ่งโรคยอดฮิตสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่ใช้หูฟังบ่อยๆทำความรู้จักกับโรคประสาทหูเสื่อม อีกหนึ่งโรคยอดฮิตสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่ใช้หูฟังบ่อยๆ

ประสาทหูเสื่อม (Sensorineural hearing loss) คือ ภาวะที่เส้นประสาทการได้ยินหรือเซลล์ประสาทในหูชั้นในเสื่อมลง ทำให้ไม่สามารถรับเสียงได้ ทำให้เกิดอาการหูตึง ได้ยินเสียงเบาลง หรือได้ยินเสียงไม่ชัดเจน ประสาทหูเสื่อมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ